การวิเคราะห์งานวิจัยโดยใช้ ADDIE MODEL
การวิเคราะห์งานวิจัยโดยใช้ ADDIE MODEL
งานวิจัยเรื่อง...
การพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์
เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง “ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว” ปริวรรต สมนึก
The Development of Teaching and Learning Innovation by Using
Instructional Media for Enhancement of Learning
Achievement towards Tourism Product
1. ขั้นตอนการวิเคราะห์
- วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อวิเคราะห์รายละเอียดของวิธีการสอนเรื่อง “ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว” ด้วยวิธีการสอนแบบปกติกับวิธี
การสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์เป็นหลัก
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิชาเอกการท่องเที่ยวชั้นปีที่ 2 เรื่อง “ผลิตภัณฑ์การ
ท่องเที่ยว” โดยวิธีการสอนแบบปกติกับวิธีการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์เป็นหลัก
3. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาวิชาเอกการท่องเที่ยวชั้นปีที่ 2 ที่มีต่อวิธีการสอนโดยใช้สื่อวีดิ
ทัศน์เป็นหลัก
- วิธีการสอนโดยใช้สื่อวิดีทัศน์
กิ่งแก้ว อารีรักษ์และคณะ (2548) กล่าวว่า ในบรรดาสื่อการสอนที่ได้นำไปใช้เป็นเครื่องช่วยการเรียนการ
สอนนั้น สื่อวีดิทัศน์เป็นสื่อหนึ่งที่เข้ามามีบทบาท และอิทธิพลต่อการศึกษาเป็นอย่างยิ่งเพราะคุณสมบัติของวีดิทัศน์
เอื้ออำนวยให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาหลายประการ คือ สามารถนำสิ่งที่อยู่ภายนอกห้องเรียนเข้ามาสู่นักเรียนใน
ห้องได้ สามารถใช้เทคนิคในการถ่ายทำเพื่อให้นักเรียนได้เห็นสิ่งที่เล็กมาก ๆ ได้อย่างชัดเจนด้วยตาเปล่า สามารถตัด
ต่อแก้ไข หรือเพิ่มเติมเนื้อหาให้ทันสมัยอยู่เสมอ ทำให้การเรียนการสอนเกิดประโยชน์ตรงกับความต้องการของผู้สอน
วีดิทัศน์ยังเอื้ออำนวยให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ เพราะสามารถดูซ้ำได้หลายครั้งจนกว่าจะเข้าใจ
หรือจดจำได้และยังสามารถช่วยครูผู้สอนได้ด้วยการบันทึกภาพการสอนของครูแล้วนำมาเปิดชมเพื่อตรวจสอบความ
บกพร่อง และข้อผิดพลาดนั้น ๆ เพื่อพัฒนาการสอนให้ได้ผลดียิ่งขึ้นได้ตลอดเวลา
นภาภรณ์ อัจฉริยะกุล และพิไลพรรณ ปุกหุต (2542) กล่าวว่า สื่อวีดิทัศน์สามารถนำสิ่งที่อยู่ภายนอก
ห้องเรียนเข้ามาสู่นักเรียนในห้องได้ สามารถใช้เทคนิคในการถ่ายทำเพื่อให้นักเรียนได้เห็นสิ่งที่เล็กมากๆ ได้อย่างชัดเจน
ด้วยตาเปล่า ด้วยวิธีการถ่ายทำคือ การจับภาพระยะใกล้ (Close up or extreme close up) หรือให้ได้เห็นภาพแบบ
กว้างไกล ( Long shot and wide angle) สามารถใช้เทคนิคการถ่ายทำให้นักเรียนเห็น และเกิดความเข้าใจใน
กระบวนการบางอย่างซึ่งมนุษย์ไม่สามารถเห็นได้ตามปกติ เช่น เทคนิคการถ่ายทำภาพอนิเมชั่น (Animation) ช่วย
ทำให้สิ่งที่ไม่มีชีวิตเคลื่อนไหวได้เหมือนกับสิ่งมีชีวิต สามารถใช้เทคนิคการซ้อนภาพ (Superimposition) จากแหล่ง
สัญญาณภาพ 2 แหล่งให้ปรากฏอยู่ในจอได้ในเวลาเดียวกัน สามารถเสนอภาพและเสียงจากสื่ออื่นๆที่ใช้กันใน
สถานการณ์การเรียนการสอนได้เกือบทุกชนิด ซึ่งทำให้รายการสอนนั้นน่าสนใจและชวนให้น่าติดตามมากขึ้น สามารถ
ตัดต่อแก้ไข หรือเพิ่มเติมเนื้อหาให้ทันสมัยอยู่เสมอ ทำให้การเรียนการสอนเกิดประโยชน์ตรงกับความต้องการของผู้
สอนโดยไม่สิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่ายมากขึ้น และสามารถเผยแพร่ความรู้ออกไปได้อย่างกว้างขวาง
- ใช้เครื่องมือ
คือ แบบสอบถาม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ สื่อวีดิทัศน์ วิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาและใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง
เบนมาตรฐาน และ t-test
2. ขั้นตอนการออกแบบ
1. ผลการวิเคราะห์รายละเอียดของวิธีการสอนเรื่อง “ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว” ด้วยวิธีการสอนแบบปกติกับ
วิธีการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์เป็นหลัก
1.1 วิธีการสอนแบบปกติ เป็นวิธีสอนโดยใช้การบรรยาย
1.2 วิธีการสอนแบบใช้สื่อวีดิทัศน
3. ขั้นตอนการพัฒนา
1. ผลการวิเคราะห์รายละเอียดของวิธีการสอนเรื่อง “ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว” ด้วยวิธีการสอนแบบปกติกับ
วิธีการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์เป็นหลัก
1.1 วิธีการสอนแบบปกติ เป็นวิธีสอนโดยใช้การบรรยายคือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้
เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการพูด บอก เล่า อธิบาย สิ่งที่ต้องการสอนแก่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนซัก
ถาม แล้วประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนจำนวนมากได้เรียนรู้เนื้อหาสาระ
หรือข้อความรู้จำนวนมากพร้อมๆ กันได้ในเวลาที่จำกัด สำหรับข้อดีของวิธีสอนโดยใช้การบรรยาย ได้แก่ เป็นวิธีสอน
ที่ใช้เวลาน้อย เมื่อเทียบกับวิธีสอนแบบอื่น ๆ เป็นวิธีสอนที่ใช้กับผู้เรียนจำนวนมากได้ เป็นวิธีสอนที่สะดวก ไม่ยุ่งยาก
และเป็นวิธีสอนที่ถ่ายทอดเนื้อหาสาระได้มาก ส่วนข้อจำกัดได้แก่ เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนมีบทบาทน้อย จึงอาจทำให้ผู้
เรียนขาดความสนใจในการบรรยาย เป็นวิธีสอนที่อาศัยความสามารถของผู้บรรยาย ถ้าผู้บรรยายไม่มีศิลปะในการ
บรรยายที่ดึงดูดใจผู้เรียน ผู้เรียนอาจขาดความสนใจ และถ้าผู้สอนขาดการเรียบเรียงเนื้อหาสาระอย่างเหมาะสม ผู้
เรียนอาจเกิดความไม่เข้าใจ และไม่สามารถซักถามได้ (ถ้าผู้บรรยายไม่เปิดโอกาส) และเป็นวิธีสอนที่ไม่สามารถสนอง
ตอบความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคล
1.2 วิธีการสอนแบบใช้สื่อวีดิทัศน์ คือ กระบวนการที่ผู้สอนได้ใช้วัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ รวมทั้งวิธี
การต่าง ๆ เป็นตัวกลางในการสื่อความหมายใด ๆ เพื่อถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้เรียนตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด
ไว้ด้วยการทำสิ่งที่ซับซ้อนหรือเป็นนามธรรมเข้าใจยาก ให้เป็นรูปธรรมที่เห็นภาพชัดเจนและเข้าใจง่าย ทำให้ผู้เรียน
เกิดความสนใจและสามารถเรียนรู้ได้ในปริมาณที่มากขึ้น คุณค่าของวิธีสอนโดยการใช้สื่อ ได้แก่ ช่วยให้คุณภาพการ
เรียนรู้ของผู้เรียนดีขึ้น ผู้เรียนสามารถจำได้มากและนานขึ้น ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้
และช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจและมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ (พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และเพยาว์ ยินดีสุข. 2552)
12 |
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 / 2558
สื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนไม่ว่าจะด้วยสื่อชนิดใดต่างก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียในการใช้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับเนื้อหา
และวัตถุประสงค์ของผู้สอนที่ต้องการให้เกิดความสัมฤทธิ์ผลทางกาเรียนอย่างไร สื่อมีหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นตัวกลาง
เป็นเครื่องทุ่นแรง เป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนเพื่อให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาที่ตรงกันและให้
เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยมีความคาดหวังของผู้สอนเป็นจุดเริ่มต้นและความพึงพอใจของผู้เรียนเป็นผลลัพธ์หลัง
จากการสื่อสาร ทั้งนี้ การสอนแบบปกติเป็นการสอนที่ยึดครูเป็นศูนย์กลาง ส่วนการสอนที่ใช้วีดิทัศน์เป็นการสอนที่ยึด
ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
4. ขั้นตอนการทดลองใช้
การวิจัยเรื่อง การพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง
“ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว” ผู้วิจัยสามารถนำมาอภิปรายผลถึงองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้
การจัดการเรียนการสอนทั้งแบบที่ยึดครูและผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้นล้วนมีเป้าหมายเพื่อที่จะให้บรรลุซึ่งผล
สำเร็จที่ตั้งไว้ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพิ่มขึ้นด้วยเพื่อใหบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งการเรียนแบบผสมผสานสามารถแบ่งออกเป็น
(1) การผสมผสานเทคโนโลยีการเรียนการ
สอนบนเว็บกับการเรียนในชั้นเรียนแบบดั้งเดิม เช่น การเรียนในห้องเรียนเสมือนแบบการเรียนด้วยตนเอง การเรียน
รู้ร่วมกัน วิดีโอสตรีมมิ่ง เสียง และข้อความ (2) การผสมผสานวิธีสอนที่หลากหลายเข้าด้วยกัน เช่น แนวคิดสร้างสรรค์
นิยม แนวคิดพฤติกรรมนิยมและแนวคิดพุทธินิยม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์จากการเรียนที่ดีที่สุด ซึ่งอาจใช้หรือไม่ใช้เทคโนโลยี
เทคโนโลยีการสอนก็ได้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ Graham (2003) ที่กล่าวว่าการเรียนแบบผสมผสานเป็นการผสม
ผสานระบบการเรียน ที่หลากหลายเข้าด้วยกันเพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่หลากหลายในการเรียน และสอดคล้องกับ
แนวคิดของ Carman (2005) ที่กล่าวว่าการเรียนแบบผสมผสานเป็นการผสมผสานทฤษฎีการเรียนรู้เข้าด้วยกันเพื่อ
ให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้
(3) การผสมผสานเทคโนโลยีการเรียนการสอนทุกรูปแบบกับการ
เรียนการสอนในชั้นเรียนแบบดั้งเดิมที่มีการเผชิญหน้าระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนซึ่งเป็นมุมมองที่มีผู้ยอมรับกันอย่างแพร่
หลายมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับ Bersin (2004) ที่กล่าวว่า การเรียนแบบผสมผสานเป็นการบูรณาการการเรียนแบบ
เผชิญหน้า การเรียนด้วยตนเอง และการเรียนแบบร่วมมือแบบออนไลน์เข้าด้วยกัน และ
(4) การผสมผสานเทคโนโลยี
การเรียนการสอนกับการทำงานจริง เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรมในองค์กร เป็นการผสมผสานการเรียนผ่านระบบ
อิเล็กทรอนิกส์และสื่ออื่นๆ ในการส่งผ่านความรู้ในการเรียนและการฝึกอบรม
5. ขั้นตอนการประเมินผล
ใช้เครื่องมือ
คือ แบบสอบถาม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ สื่อวีดิทัศน์ วิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาและใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง
เบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่า
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น