การใช้ ADDIE MODEL ประยุกต์ใช้ในรายวิชาวิทยาศาสตร์



 การใช้ ADDIE MODEL ประยุกต์ใช้ในรายวิชาวิทยาศาสตร์

เรื่อง  การใช้และจำแนกวัสดุ






1. ขั้นตอนการวิเคราะห์

    1.1 กำหนดกลุ่มเป้าหมายของผู้เรียน
          - นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ห้อง B-C โรงเรียนเด็กสากลนิมิตใหม่
          - กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่อง การใช้และจำแนกวัสดุ
          -  จุดประสงค์
               - นักเรียนสามารถอธิบายการใช้และจำแนกวัสดุได้
               - นักเรียนสามารถอธิบายรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนของการใช้และจำแนกวัสดุได้
   
     1.2 การวิเคราะห์งาน
         - มีการพัฒนาบทเรียนและออกแบบการสอนดังนี้
         - แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนผ่านโปรแกรม Kahoot
         - นักเรียนศึกษาสื่อโปรแกรมอินโทรกราฟิกในการสอนเรื่องการใช้และจำแนกวัสดุ
         - นักเรียนทำกิจกรรมจากใบงาน เรื่อง การใช้และจำแนกวัสดุ
         - ดำเนินการตามกำหนดการสอน
         - ครูจัดทำบันทึกหลังสอนเพื่อแก้ปัญหา และผลที่คาดว่าจะได้รับ

     1.3 การวิเคราะห์แหล่งข้อมูล
          - นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ห้อง B-C โรงเรียนเด็กสากลนิมิตใหม่
          - กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่อง การใช้และจำแนกวัสดุ
          - โปรแกรม Kahoot คือ เกมที่ตอบสนองต่อการเรียนการสอน ช่วยให้นักเรียนสนุกกับการเรียน
            โดยเป็น เครื่องมือช่วยในการประเมินผล โดยผ่านการตอบคำถาม การอภิปราย หรือการสำรวจ
            ความคิดเห็น และ Kahoot เป็นเกมการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย คำถามปรนัย เช่นการตอบ
            คำถามการอภิปราย หรือการ สำรวจ คำถามจะแสดงที่จอหน้าชั้นเรียนและให้นักเรียนตอบ
            คำถามบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของตนเอง เช่น คอมพิวเตอร์ มือถือ หรือไอแพด
         -  อินโฟกราฟิก ( infographics) หรือ อินฟอร์เมชันกราฟิก ( information graphics) เป็นการ
           แสดงผลของข้อมูลหรือความรู้โดยภาพที่อ่านและเข้าใจง่าย งานกราฟิกประเภทนี้นิยมใช้สำหรับ
           ข้อมูลที่มีความซับซ้อน ตัวอย่างเช่น ป้าย แผนที่งานวิจัย โดยอินโฟกราฟิกนี้ยังคงนิยมใช้ใน
           สายงานด้าน วิทยาการคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ สถิติ เพื่อให้แสดงถึงข้อมูลที่ซับซ้อนให้ง่าย               ขึ้น
        - กิจกกรรมการสอนเป็นกิจกรรมที่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนมรส่วนร่วมในกิจกรรมไม่เน้น
           การบรรยายหน้าชั้นเรียน

      1.4 กำหนดสิ่งจำเป็นในการจัดการ
         - กำหนดให้นักเรียนศึกษาการสื่อการสอน อินโฟกราฟิก ที่ติดไว้ที่บอร์ดหน้าชั้นเรียน 
          เพื่อให้นักเรียนสามารถศึกษาได้ในขณะที่ไม่มีอินเตอร์เน็ต


2. ขั้นตอนการออกแบบ

   2.1 การออกแบบบทเรียน
        - บทนำเรื่อง การใช้และจำแนกวัสดุ
        - อธิบายวัตถุประสงค์การเรียนรู้
        - แบบทดสอบก่อนผ่านโปรแกรม Kahoot
        - นำเข้าสู่ทเรียน จากสื่อโปรแกรมอินโทรกราฟิกในการสอนเรื่อง การใช้และจำแนกวัสดุ
        - เนื้อหา
            การใช้วัสดุ
            - การจำแนกชนิดของวัสดุ
       - ทดสอบหลังเรียนผ่านโปรแกรม Kahoot


3. ขั้นตอนการพัฒนา

  3.1 ขั้นเตรียมการ
     - ครูศึกษาเนื้อหาเรื่อง การใช้และจำแนกวัสดุ จากสื้อหลายๆทาง
    -  เตรียมแผนการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อ
    - ให้อาจารย์ หัวหน้า ตรวจสอบความถูกต้อง และดำเนินการแก้ไข
 3.2  สร้างบทเรียน
   - สร้างบทเรียนจากสื่อโปรแกรมอินโทรกราฟิกในการสอนเรื่อง การใช้และจำแนกวัสดุ
   - แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนผ่านโปรแกรม Kahoot
 3.3 สร้างเอกสารประกอบการเรียน 
   - สร้างบทเรียนจากสื่อโปรแกรมอินโทรกราฟิกในการสอนเรื่อง การใช้และจำแนกวัสดุ
   - แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนผ่านโปรแกรม Kahoot
   - นักเรียนทำกิจกรรมจากใบงาน เรื่อง การใช้และจำแนกวัสดุ

4. ขั้นตอนการทดลองใช้ 
   - ทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ห้อง B-C โรงเรียนเด็กสากลนิมิตใหม่
   - ทดลองติดอินโทรกราฟิกในการสอนเรื่อง การใช้และจำแนกวัสดุ ไว้ที่บอร์ดนอกห้องเพื่อนักเรียน
     ห้องอื่นที่สนใจสามารถศึกษาได้
   - ทดสอบกับคอมพิวเตอร์สามารถรองรับรูปแบบของโปรแกรมได้

5. ขั้นตอนการประเมินผล
   - ทดสอบหลังเรียนผ่านโปรแกรม Kahoot นักเรียนต้องผ่านร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งสองห้อง




แบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียนจากโปรแกรม kahoot






ตัวอย่างโปรแกรมอินโทรกราฟิกในการสอนเรื่อง การใช้และจำแนกวัสดุ



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การวิเคราะห์งานวิจัยโดยใช้ ADDIE MODEL